ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลัก ดังนี้


เสาหลักที่ 1 ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

            ในด้านการเมืองและความมั่นคง อาเซียนมีเป้าหมายสําคัญคือการส่งเสริมสันติภาพและ เสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อสร้างสถานะที่จะอํานวยต่อการสร้างประชาคม อาเซียน ให้สําเร็จภายในปี 2558 ซึ่งจะทําให้ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองความมั่นคงมีความ แข็งแกร่งและน่าเชื่อถือ ความร่วมมือด้านการเมืองความมั่นคงของอาเซียนที่สําคัญ ได้แก่

            1. สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation : TAC) สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จัดทําขึ้น โดยประเทศสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย ฟลิิปปินส์มาเลเซีย สิงคโปร์และไทย เมื่อปี 2519 เพื่อกําหนดหลักการพื้นฐานของความร่วมมือ และการดําเนินความสัมพันธ์ระหว่างกันของประเทศ สมาชิกหลักการสําคัญของสนธิสัญญา ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนยึดถือและยอมรับในการปฏิบัติตาม ได้แก่

                        1.1 เคารพในเอกราช การมีอํานาจอธิปไตย ความเท่าเทียมกัน ความมั่นคงทางดินแดนและเอกลักษณ์แห่งชาติของทุกประเทศ

                        1.2 ปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก การโค่นล้มอธิปไตย หรือการบีบบังคับจากภายนอก

                        1.3 การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน

                        1.4 การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี

                        1.5 การยกเลิกการใช้การคุกคามและกองกําลัง

                        1.6 การมีความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพระหว่างกัน

            ต่อมาในเดือนธันวาคม 2530 ได้มีการแก้ไขสนธิสัญญาเพื่อเปิดทางให้ประเทศที่อยู่นอกภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเข้าร่วมเป็นภาคีได้ซึ่งช่วยเสริมสร้างโครงสร้างความมั่นคงและ สันติภาพให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ปัจจุบันประเทศที่เข้าร่วมเป็นภาคีในสนธิสัญญา TAC ได้แก่ สมาชิก อาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน และประเทศที่เข้าร่วมการประชุมอาเซียนว่าด้วย การเมืองและความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก เช่น จีน อินเดีย ญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลีใต้และนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย แคนาดา สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปได้แจ้งความจํานงอยากเข้าร่วมเป็นภาค

            2. สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty on the Southeast Asia Nuclear-Free Zone : SEAN-FZ) ประเทศสมาชิกอาเซียนลงนามการประชุมสนธิสัญญาใน กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2538 วัตถุประสงค์ของสนธิสัญญา คือ ให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์โดยประเทศที่เป็นภาคีจะไม่พัฒนา ไม่ผลิต ไม่จัดซื้อ ไม่ครอบครอง รวมทั้งไม่เป็นฐานการผลิต ไม่ทดสอบ ไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาค และไม่ให้รัฐใดปล่อยหรือทิ้งวัสดุ อุปกรณ์ที่เป็นกัมมันตภาพรังสีลงบนพ้ืนดิน ทะเล และอากาศ นอกจากนี้ห้าประเทศสมาชิกผู้แทนถาวร ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประกอบด้วย จีน สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย และ สหราชอาณาจักร ได้ยอมรับและให้ความเคารพสนธิสัญญาจะไม่ละเมิดและไม่แพร่กระจายอาวุธ นิวเคลียร์ในภูมิภาคนี

            3. ปฏิญญากําหนดให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตแห่งสันติภาพเสรีภาพ และ ความเป็นกลาง (Zone of Peace, Freedom and Neutrality : ZOPFAN) เป็นการแสดงเจตนารมณ์ ของอาเซียนให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่ปลอดการแทรกแซงจากภายนอก เพื่อ เป็นหลักประกันต่อสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาคและเสนอให้อาเซียนขยายความร่วมมือ ให้ครอบคลุมทุกด้าน อันจะนํามาซึ่งความแข็งแกร่ง ความเป็นปึกแผ่นและความสมพั ันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่าง ประเทศสมาชิก ได้มีการประกาศลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐสมาชิกอาเซียนในขณะนั้น ประกอบด้วย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์สิงคโปร์และไทย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2514 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย

            4. การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความม่ันคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ ASEAN Regional Forum : ARF) จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีสําหรับปรึกษาหารือ มีวัตถุประสงค์ที่มุ่ง ส่งเสริมสันติภาพโดยการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ความร่วมมือ และความสัมพันธ์อันดีระหว่าง ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศอาเซียนกับคู่เจรจา และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกใน เรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองและความมั่นคง โดยมีทั้งผู้แทนฝ่ายการทูตและการทหารเข้าร่วมการประชุม การหารือด้านการเมืองและความมั่นคงในกรอบ ARF ได้กําหนดพัฒนาการของกระบวนการ ARF เป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ส่งเสริมการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน 2) การพัฒนาการทูตเชิงป้องกัน 3) การแก้ไขความขัดแย้ง

            การประชุมระดับรัฐมนตรี ARF ครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2537 ปัจจุบัน ประเทศที่เป็นสมาชิกการประชุมว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมี 27 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ คือ ไทย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์สิงคโปร์และเวียดนาม ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ประเทศ ผู้สังเกตการณ์ของอาเซียน และประเทศอื่นในภูมิภาค อันได้แก่ ออสเตรเลีย บังคลาเทศ แคนาดา จีน อินเดีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี(เกาหลีเหนือ) มองโกเลีย นิวซีแลนด์ปากีสถาน ปาปัวนิวกินีรัสเซีย ติมอร์-เลสเต ศรีลังกา สหรัฐอเมริกา และสหภาพ ยุโรป

            5. ASEAN Troika ผู้ประสานงานเฉพาะกิจในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2542 ณ กรุงมะนิลา ผู้นําของประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบในการจัดตั้ง กลุ่มผู้ประสานงานเฉพาะกิจในระดับรัฐมนตรี (ASEAN Troika) ประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศ ที่ดํารงตําแหน่งประธานคณะกรรมการประจําของอาเซียนในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต จะหมุนเวียนกัน ไปตามการเป็นประธานการประชุม วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มผู้ประสานงานเฉพาะกิจ คือ

                        5.1 เป็นกลไกให้อาเซียนสามารถร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการหารือแก้ไขปัญหาที่ส่งผล กระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยไม่ก้าวก่ายกิจการภายในของประเทศสมาชิกเป็นการ ยกระดับ ความร่วมมือของอาเซียนให้สูงขึ้น และเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของการดําเนินงานโดยรวม

                        5.2 เพื่อรองรบสถานการณ์และจะดําเนินการสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติในสนธิสญญา และขอตกลงต่างๆของอาเซียน เช่น สนธิสัญญาไมตรและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation : TAC)

            6. กรอบความร่วมมือทางทหาร (ASEAN Defense Ministerial Meeting -ADMM) เพื่อสร้าง เครือข่ายและความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างฝ่ายทหารของประเทศสมาชิก ความร่วมมือด้านการป้องกัน ยาเสพติด การต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้าย โดยเฉพาะประเด็นหลังนี้อาเซียนได้ลงนาม ในอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย ในปี 2550

            7. ความสัมพันธ์กับประเทศนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อสร้างความร่วมมือ ด้านการเมืองความมั่นคงที่สมดุลและสร้างสรรค์ระหว่างกัน โดยผ่านเวทีหารือระหว่างอาเซียนกับ ประเทศคู่เจรจา ได้มีการประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออก (East Asia Summit : EAS) และกระบวนการ อาเซียน+3


เสาหลักที่ 2 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

            ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียนเริ่มมีเป้าหมายชัดเจนที่จะนําไปสู่การรวมตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศในภูมิภาคอาเซียน นับตั้งแต่การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี 2535 โดยได้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ขึ้น และนับแต่นั้นมากิจกรรมของอาเซียน ได้ขยายครอบคลุมไปสู่ทุกสาขาหลักทางเศรษฐกิจ รวมทั้งในด้านการค้าสินค้าและบริการการลงทุน มาตรฐานอุตสาหกรรมและการเกษตร ทรัพย์สินทางปัญญา การขนส่ง พลังงาน และการเงินการคลัง เป็นต้น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่สําคัญ มีดังนี้

            1. เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA เป็นข้อตกลงทางการค้าสําหรับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด ทําขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน ในฐานะ ที่เป็นการผลิตที่สําคัญในการป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้า การลดภาษีและ ยกเลิกอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษีเช่น การจํากัดโควต้านําเข้า รวมทั้งการปรับเปลี่ยน โครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออํานวยต่อการค้าเสรีโดยข้อตกลงนี้จะครอบคลุมสินค้าทุกชนิด ยกเว้น สินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ศีลธรรม ชีวิต และศิลปะ อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิกต้องให้สิทธิ ประโยชน์ทางศุลกากรแก่กันแบบต่างตอบแทน หมายความว่าการที่ได้สิทธิประโยชน์จากการลดภาษี ของประเทศอื่นสําหรับสินค้าชนิดใด ประเทศสมาชิกนั้นต้องประกาศลดภาษีสําหรับสินค้าชนิดเดียวกัน

            2. เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area : AIA) ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 เมื่อเดือนธันวาคม 2538 ที่กรุงเทพฯ ได้เห็นชอบให้จัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียนเพื่อเสริมสร้างอาเซียนให้ เป็นเขตการลงทุนเสรีที่มีศักยภาพ โปร่งใส เพื่อดึงดูดนักลงทุน ทั้งจากภายในและภายนอกภูมิภาค ความตกลงนี้ครอบคลุมการลงทุนในอุตสาหกรรม 5 สาขา คือ สาขาอุตสาหกรรมการผลิต เกษตร ประมง ป่าไม้และเหมืองแร่ และภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับ 5 สาขาการผลิตดังกล่าว ยกเว้นการลงทุน ด้านหลักทรัพย์และการลงทุนในด้านซึ่งครอบคลุมโดยความตกลงอาเซียนอื่น ๆ เขตการลงทุนอาเซียน กําหนดให้ประเทศสมาชิกดําเนินการเปิดอุตสาหกรรมและให้การปฏิบัติเยี่ยงคนในชาติแก่นักลงทุน อาเซียนและนักลงทุนนอกอาเซียน โดยกําหนดเป้าหมายจะเปิดเสรีด้านการลงทุนแก่นักลงทุนอาเซียน ภายในปี 2553 และนักลงทุนนอกอาเซียนภายในปี 2563 การดําเนินการเพื่อจัดตั้งเขตการลงทุน อาเซียนประกอบด้วยโครงการความร่วมมือ 3 โครงการ คือ 1) โครงการความร่วมมือและการอํานวย ความสะดวก 2) โครงการส่งเสริมและสร้างความเข้าใจ และ 3) การเปิดเสรี

            3. ความริเ ริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration : IAI) อาเซียนได้ดําเนินการเพื่อเร่งรัดการรวมตัวของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยจัดทํา “ความริเริ่มเพื่อการ รวมตัวของอาเซียน” เพื่อลดช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกเก่า (ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์สิงคโปร์บรูไน อินโดนีเซีย) กับสมาชิกใหม่ของอาเซียน (พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) โดยให้ประเทศสมาชิกเก่าร่วมกันจัดทําโครงการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศใหม่ครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การรวมตัว ทางเศรษฐกิจ เพื่อที่จะช่วยการพัฒนากรอบกฎระเบียบและนโยบาย รวมทั้งช่วยเสริมสร้างขีด ความสามารถของประเทศ CLMV ในการลดปัญหาความยากจน ยกระดับความเป็นอยู่ของประชากร พัฒนาระบบข้าราชการ และเตรียมความพร้อมต่อการแข่งขันบนเวทีโลก

            4. ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม (ASEAN Industrial Cooperation Scheme : AICO) โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน มุ่งส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี เป็นฐานการผลิต โดยยึดหลักของการใช้ทรัพยากรร่วมกัน การแบ่งส่วนการผลิต ตามความสามารถและ ความถนัด ตลอดจนส่งเสริมการลงทุนและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากทั้งประเทศสมาชิกและประเทศ นอกกลุ่มโดยใช้มาตรการทางภาษีและสิทธิพิเศษอื่น ๆ ที่มิใช่ภาษีเป็นสิ่งจูงใจโดยมีเงื่อนไขดังนี้

                        4.1 จะต้องมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมอย่างน้อย 2 ประเทศ

                        4.2 มีบริษัทเข้าร่วมอย่างน้อย 1 บริษัทในแต่ละประเทศ

                        4.3 สินค้าที่ผลิตได้ขั้นสุดทาย้ จะได้รับการยอมรับเสมือนสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศและจะไม่ถูกจํากัดด้วยระบบโควต้าหรือมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี

                        4.4 บริษัทที่จะขอรับสิทธิประโยชน์ต้องมีสัดส่วนการถือหุ้นของคนชาติอาเซียนอย่างน้อย ร้อยละ 30

                        4.5 ได้รับการลดภาษีนําเข้าในอัตราร้อยละ 0 – 5

            5. กรอบความตกลงด้านการค้าบริการ (ASEAN Framework Agreement on Services : AFAS) ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 5 เดือนธันวาคม 2538 ที่กรุงเทพฯ รัฐมนตรีเศรษฐกิจของประเทศ สมาชิกอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน ซึ่งกําหนดให้เจรจา เปิดเสรีการค้าบริการ โดยจัดทําข้อผูกพันในด้านการเปิดตลาด การให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) และด้านอื่น ๆ การเจรจาเสรีการค้าบริการในช่วงปี 2539-2544 มุ่งเน้นการเปิดเสรี 7 สาขาบริการ คือ สาขาการเงิน การขนส่งทางทะเล การขนส่งทางอากาศ การสื่อสารโทรคมนาคม การท่องเที่ยว การก่อสร้าง และสาขาบริการธุรกิจ ต่อมาในช่วงปี 2545-2549 ได้มีการขยายขอบเขต การเจรจาเปิดเสรีรวมทุกสาขา นอกจากนี้สมาชิกอาเซียนยังต้องเร่งรัดเปิดตลาดในสาขาบริการที่เป็น สาขาสําคัญ 5 สาขา ได้แก่ สาขาโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาสุขภาพ สาขา การท่องเที่ยว สาขาการบิน และสาขาบริการโลจิสติกส์ เพื่อให้อาเซียนมีความพร้อมในการก้าวไปสู่ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ต่อไป

            6. ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและอิเล็กทรอนิกส์ (e-ASEAN Framework Agreement) ในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2543 ที่ประเทศสิงคโปร์ผู้นําของอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ร่วมกันลงนามในกรอบความตกลงด้าน อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน เป็นข้อตกลงที่กําหนดแนวทางเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ สมาชิกอาเซียนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร ในภูมิภาคให้สอดคล้องกันและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีมาตรการที่ครอบคลุม 5 ด้าน คือ

                        6.1 การพัฒนาเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของอาเซียน (ASEAN Information Infrastructure) ให้สามารถติดต่อถึงกันได้อย่างทั่วถึงด้วยความเร็วสูง และ พัฒนาความร่วมมือไปสู่การจัดตั้งห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และแหล่งรวมข้อมูลท่องเที่ยวอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการจัดตั้งศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูล และการให้บริการเชื่อมสัญญาณเครือข่ายข้อมูล อินเตอร์เน็ต

                         6.2 การอํานวยความสะดวกด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) โดยการออก กฎหมายและระเบียบด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ และมีระบบ รักษาความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐานสากล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคและพัฒนาวัฒนธรรมใน การทําธุรกิจโดยใช้อิเล็กทรอนิกส์เช่น การยอมรับลายมือชื่อเล็กทรอนิกส์ซึ่งกันและกัน การชําระเงิน โดยระบบอิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น

                        6.3 ส่งเสริมและเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการและการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) โดยประเทศสมาชิกอาเซียนจะยกเลิกภาษีและอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี สําหรับสินค้า ICT ภายในปี 2548 สําหรับประเทศสมาชิกอาเซียนดั้งเดิม 6 ประเทศ และภายในปี 2553 สําหรับประเทศสมาชิกใหม่คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม

                        6.4 สร้างสังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Society) เสริมสร้างความสามารถและพัฒนา อิเล็กทรอนิกส์เพื่อประโยชน์ต่อสังคม ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความสามารถด้าน IT ของบุคลากร ในอาเซียนลดความเหลื่อมล้ําด้าน IT ภายในประเทศและระหว่างประเทศสมาชิก อํานวยความสะดวก ในการเคลื่อนย้ายแรงงานด้าน IT อย่างเสรีและส่งเสริมการใช้ IT

                        6.5 สร้างรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ส่งเสริมให้มีการใช้ ICT ในการบริการ ของภาครัฐให้มากขึ้น เช่น การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ การอํานวยความสะดวกข้อมูลข่าวสารการให้บริการ ของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เช่น การเสียภาษีการจดทะเบียนการค้า พิธีการศุลกากร เป็นต้น

            7. ความร่วมมือด้านการเงินการคลัง (Financial Cooperation)

                        7.1 อาเซียนได้จัดตั้งระบบระวังภัยอาเซียน (ASEAN Surveillance Process) เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2541 เพื่อสอดส่องดูแลสภาวะเศรษฐกิจและการเคลื่อนย้ายเงินทุนในภูมิภาค โดยให้ มีการหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในประเทศสมาชิกในภูมิภาคและในโลก โดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและเงินทุนโดยการจัดการ ฝึกอบรมด้านเทคนิคแก่เจ้าหน้าที่ประเทศสมาชิก และการจัดตั้ง ASEAN Surveillance Technical Support Unit ในสํานักงานเลขาธิการอาเซียนเพื่อสนับสนุนระบบดังกล่าว

                        7.2 การเสริมสร้างกลไกสนับสนุนและเกื้อกูลระหว่างกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (Enhancing self-help and support mechanism in East Asia) โดยได้กําหนดแนวทางความร่วมมือ กับ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ที่สําคัญ ได้แก่ จัดทําความตกลงทวิภาคีด้านการแลกเปลี่ยนการซื้อ-ขาย คืนเงินตราหรือหลักทรัพย์ต่างประเทศ หารือเกี่ยวกับการจัดตั้งระบบเตือนภัยในภูมิภาค และการ แลกเปลี่ยนการหารือเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค

                        7.3 ความริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2543 เป็นการปรับปรุงความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราอาเซียนในด้าน โครงสร้าง รูปแบบและวงเงิน และให้เสริมด้วยเครือข่ายความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐ เกาหลีซึ่งได้ขยายให้ความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราอาเซียนรวมประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศแล้ว

            8. ความร่วมมือด้านการเกษตรและป่าไม้ของอาเซียน และอาเซียน+3 ครอบคลุมความร่วมมือ ในด้านประมง ป่าไม้ปศุสัตว์พืช และอาหาร เพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางด้านอาหารและความสามารถ ในการแข่งขันของอาเซียนในด้านอาหารการเกษตรและผลผลิตป่าไม้โครงการความร่วมมือระหว่าง อาเซียนและประเทศอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ภายใต้สาขาดังนี้

                        8.1 การขจัดความยากจนและสร้างความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคเอเชีย

                        8.2 การวิจัยและพัฒนาด้านอาหาร การเกษตร ประมง และป่าไม้

                        8.3 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านอาหาร การเกษตร ประมง และป่าไม้

                        8.4 การประสานงานและร่วมมือในระดับโลกและระดับภูมิภาคในประเด็นด้านอาหาร การเกษตร ประมง และป่าไม้

                        8.5 การสร้างเครือข่ายข้อมูลด้านการเกษตร

                        8.6 การอํานวยความสะดวกด้านการค้า

            9. ความร่วมมือด้านการขนส่ง

                        9.1 โครงการพัฒนาทางหลวงอาเซียน (ASEAN Highway Network Project) ลักษณะ ของโครงข่ายทางหลวงอาเซียน คือ มีทางหลวงครอบคลุม 23 สาย ทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน และจัดทํา มาตรฐานทางหลวงอาเซียน (ป้ายจราจร สัญญาณ และระบบหมายเลข) ให้เป็นแบบเดียวกัน โดยกําหนดมาตรฐานทางหลวงอาเซียนเป็น 4 ระดับ ได้แก่

                                    - ชั้นพิเศษ-ทางด่วน ที่ควบคุมทางเข้า-ออก สมบูรณ์แบบ

                                    - ชั้นที่ 1 ทางหลวง 4 ช่องจราจร

                                    - ชั้นที่ 2 ทางหลวงลาดยาง 2 ช่องจราจร ผิวทางกว้าง 7 เมตร

                                    - ชั้นที่ 3 ทางหลวงลาดยาง 2 ช่องจราจร ผิวทางกว้าง 6 เมตร

                        9.2 กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอํานวยความสะดวก ในการขนส่งสินค้าผ่านแดน ( ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) วัต ถุประสงค์ ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอนุญาตให้รถยนต์ขนส่งที่จดทะเบียนในประเทศสมาชิกหนึ่งสามารถขนส่ง สินค้าผ่านแดนไปยังอีกประเทศหนึ่งได้

                        9.3 ความตกลงหลายฝ่ายและพิธีสารว่าด้วยการเปิดเสรีบริการขนส่งเฉพาะสินค้าของ อาเซีย น ( Multilateral Agreement on the Full Liberalization of All Cargo Air Services) มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการขนส่งสินค้าในอาเซียนด้วยกัน โดยเปิดเสรีเที่ยวบินขนส่งเฉพาะสินค้า ระหว่างประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยไม่มีข้อจํากัดทั้งในเรื่องของจํานวนความจุความถี่ ของบริการเส้นทางบิน ซึ่งจะทําให้การขนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศในอาเซียนเป็นไปได้อย่างสะดวก อันจะส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจโดยรวมในภูมิภาคสามารถเจริญเติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

                        9.4 ความตกลงหลายฝ่ายและพิธีสารว่าด้วยการเปิดเสรีบริการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศ ของอาเซีย น ( Multilateral Agreement on the Liberalization of Passenger Air Services) การจัดทําความตกลงหลายฝ่ายว่าด้วยการเปิดเสรีการบินในส่วนของเที่ยวบินขนส่งโดยสาร เป็นการ ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าของไทยและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้มีการเปิดเสรีการบิน และส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคนี้ด้วย

            10. ความร่วมมือด้านพลังงานในอาเซียน (ASEAN Energy Cooperation) เพื่อเสริมสร้าง ความมั่นคงและความยั่งยืนในการจัดหาพลังงาน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในภูมิภาคอาเซียน และการจัดการด้านความต้องการพลังงานอย่างเหมาะสม โดยคํานึงถึงปัจจัยด้านสภาพสิ่งแวดล้อม และ การช่วยเหลือกันในการแบ่งปันปิโตรเลียมในภาวะฉุกเฉิน โครงสร้างความร่วมมือด้านพลังงาน ประกอบด้วย การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนคณะทํางานและคณะกรรมการใน 5 สาขา ได้แก่

                        10.1 คณะทํางานด้านถ่านหิน

                        10.2 คณะทํางานด้านประสิทธิภาพพลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน

                        10.3 คณะทํางานด้านพลังงานใหม่และพลังงาน

                        10.4 คณะกรรมการด้านปิโตรเลียม ประกอบด้วยบริษัทน้ํามันแห่งชาติของประเทศสมาชิก อาเซียน

                        10.5 คณะกรรมการด้านการไฟฟ้า ประกอบด้วยผู้ว่าการการไฟฟ้าของแต่ละประเทศ การดําเนินการระยะแรกของโครงการเครือข่ายด้านพลังงานอาเซียนครอบคลุม 2 โครงการหลัก คือ โครงการเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน และโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน

            11. ความตกลงด้านการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Agreement) ความร่วมมือด้าน การท่องเที่ยวในกรอบอาเซียนและอาเซียน+3 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 8 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ได้ลงนามความตกลงด้านการท่องเที่ยวอาเซียน เพื่อส่งเสริมให้อาเซียนเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว โดยเน้นความร่วมมือใน 7 ด้าน คือ การอํานวยความสะดวกการเดินทางในอาเซียนและระหว่างประเทศ การอํานวยความสะดวกด้านขนส่ง การขยายตลาดการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ความปลอดภัยและความมั่นคงของการ ท่องเที่ยว การตลาดและการส่งเสริมร่วมกัน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อาเซียนจัดการประชุม ด้านการท่องเที่ยวเป็นประจําทุกปีในเดือนมกราคม โดยหมุนเวียนจัดในประเทศสมาชิก อาเซียนยังได้ ริเริ่มความร่วมมือในการจัดทําความตกลงการตรวจลงตราเพียงครั้งเดียว (Single Visa) แต่ใช้เดินทาง ได้หลายประเทศ

            นอกจากนี้ความตกลงด้านการท่องเที่ยวยังได้ขยายไปยังประเทศอาเซียน+3 เกาหลีจีน ญี่ปุ่น โดยมีความร่วมมือระหว่างองค์การท่องเที่ยวของไทยกับของเกาหลีเพื่อพัฒนาศักยภาพของมัคคุเทศก์ไทย และให้ประเทศ+3 เสนอแนวทางความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนที่ชัดเจนเพื่อส่งเสริมความ ร่วมมือระหว่างกัน


เสาหลักที่ 3 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

            ความร่วมมือของอาเซียนด้านสังคมและวัฒนธรรม วัตถุประสงค์หลักเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม ที่ส่งผลกระทบในระดับภูมิภาค พัฒนาและเสริมสร้างสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาค ให้ดีขึ้น รวมถึงลดผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจของอาเซียน ส่งเสริมและ รักษาเอกลักษณ์ประเพณีและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจ อันดีระหว่างประชาชนในแต่ละประเทศสมาชิก

            ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ปี 2546 ที่เมืองบาหลีผู้นําประเทศอาเซียนเห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซีย น ( ASEAN Economic Community : AEC) ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) และเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปีพ.ศ. 2558 วัตถุประสงค์ หลักเพื่อ 1) การสร้างประชาคมแห่งสังคมที่เอื้ออาทร 2) แก้ไขผลกระทบต่อสังคมอันเนื่องมาจากการ รวมตัวทางเศรษฐกิจ 3) ส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและการจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง 4) ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนในระดับรากหญ้า การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม รวมทั้งรับรู้ข่าวสารเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงเอกลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity) โดยมีแผนงาน การจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ประกอบด้วย ความร่วมมือ 6 ด้าน

            1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Development) ให้ความสําคัญกับการศึกษาการลงทุน ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม ส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศการอํานวย ความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงประยุกต์เสริมสร้างทักษะในการประกอบการ สําหรับสตรีเยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการความร่วมมือในด้านนี้

            2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม (Social Welfare and Protection) ได้แก่ การขจัดความ ยากจน เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมและความคุ้มกันจากผลกระทบด้านลบจากการรวมตัว อาเซียนและโลกาภิวัตน์ส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร การเข้าถึงการดูแลสุขภาพ และส่งเสริมการดํารงชีวิตที่มีสุขภาพ การเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ การรับประกันอาเซียน ปลอดยาเสพติด การสร้างรัฐที่พร้อมรับกับภัยพิบัติและประชาคมที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

            3. สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม (Social Justice and Rights) เป็นการส่งเสริมและ คุ้มครองสิทธิและสวัสดิการสําหรับสตรีเยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ การคุ้มครองและส่งเสริมแรงงาน โยกย้ายถิ่นฐาน ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ

            4. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ของโลก การจัดการและการป้องกันปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมข้ามแดน ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานการดํารงชีวิตในเขตเมือง การประสานนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและฐานข้อมูล ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการจัดการเกี่ยวกับการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ส่งเสริมความยั่งยืนของ ทรัพยากรน้ําจืด การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการต่อผลกระทบ ส่งเสริมการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน

            5. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน (Building an ASEAN Identity) ส่งเสริมการตระหนักรับรู้ เกี่ยวกับอาเซียนและความรู้สึกของการเป็นประชาคม การส่งเสริมและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ของอาเซียน ส่งเสริมการสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรมและอุตสาหกรรม การมีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน

            6. การลดช่องว่างทางการพัฒนา (Narrowing the Development Gap) การดําเนินงานความ ร่วมมือเหล่านี้อาเซียนได้ดําเนินการทั้งในรูปแบบของความตกลงในระดับต่างๆ (MOU/ Agreement/ Declaration) และโครงการความร่วมมือทั้งระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันและระหว่างอาเซียน กับประเทศภายนอกภูมิภาค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศคู่เจรจาทั้งในกรอบอาเซียน+1 และอาเซียน+3 และองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ความร่วมมือทางด้านสังคมและวัฒนธรรม

            สําหรับนโยบายการดําเนินงานของอาเซียนเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน ทั้งนี้การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) หรือ การประชุมของผู้นําประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นการประชุมระดับสูงสุดเพื่อกําหนดแนวนโยบาย ในภาพรวม และเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียน ในระยะยาวซึ่งจะปรากฏเป็นเอกสารในรูปแบบต่างๆอาทิแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบาย ในภาพรวมและนโยบายเฉพาะด้าน

            หน่วยงานที่ทําหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดําเนินงานในกรอบอาเซียน คือ สํานัก เลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลาง การติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก มีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้า สํานักงาน โดยมีสํานักงานเลขาธิการแห่งชาติหรือ ASEAN National Secretariat ซึ่งเป็นหน่วยงาน ระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนและ ติดตามผลการดําเนินงานในประเทศนั้น ๆ

            สําหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบคือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ และ คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจําอาเซียน (Committee of Permanent Representatives : CPR) ประกอบด้วยผู้แทนระดับเอกอัครราชทูตที่ได้รับแต่งตั้งมาจากประเทศสมาชิก มีภารกิจในการสนับสนุน การทํางานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียน และองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา รวมทั้ง ประสานงานกับสํานักงานเลขาธิการอาเซียนและสํานักงานเลขาธิการแห่งชาติตลอดจนดูแลความ ร่วมมือของอาเซียนกับหุ้นส่วนภายนอก ประเทศไทยได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรประจํา อาเซียนและมีคณะผู้แทนถาวรไทยประจําอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา



อ้างอิง : กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

http://www.popterms.mahidol.ac.th/newsletter/showarticle.php?articleid=286